ท่ามกลาง กระแส‘สโลว์ไลฟ์’ ที่กำลังสุดชิค ในหมู่‘ฮิปสเตอร์’วัยรุ่นไทยที่เพิ่งเรียนจบมาใหม่หมาด จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น, ท้วงติง ไปจนถึงขั้นวิวาทะถกเถียง พวกเรากำลัง‘แปร’ความหมายของสโลว์ไลฟ์ผิดเพี้ยนไปรึเปล่า??
กระแสสโลว์ไลฟ์ หรือการมีวิถีชีวิตให้ช้าลงท่ามกลางความเร่งรีบในยุคดิจิตอล สัญญาญโทรศัพท์ที่ติดตามเราเหมือนกับเงาตามตัว ทั้ง 3G /4G กำลังครอบคลุมทุกตารางนิ้วในอากาศ สำหรับในต่างประเทศนั้น ได้มีผู้คนหันมาตื่นตัวและเชิญชวนให้มนุษย์อย่างเราๆควรห้นมาใช้ชีวิตกันให้ช้าลงมานานหลายปีแล้ว
‘เกียร์ เบอร์เธลเซ่น’ (Gier Berthelsen)ชายหนุ่มชาวอเมริกันเป็นอีกคนหนึ่ง ในผู้คนที่หันมาสนใจ การมีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ จนถึงขั้นเป็นผู้ก่อตั้งสถาบัน‘The World Institute of slowness’ ซึ่งเป็นสถาบันให้ความรู้ในการชีวิตให้ช้าลง อย่างเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่ปี 2542 หรือเมื่อ16 ปีก่อน
เกียร์ เบอร์เธลเซ่น
‘พวกเราไม่ใช่หนูและชีวิตก็ไม่ใช่การแข่งขัน’ อาจเป็นเพียงแค่คำพูดเท่ๆของเกียร์ เบอร์เธลเซ่น ชายผู้มีใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มคนนี้ แต่คงจะดีถ้าเรามีเวลาพอที่จะหยุดแล้วคิดความหมายของมันอย่างลึกซึ้ง
เกียร์ เบอร์เธลเซ่น เป็นนักพูดสร้างแรงบันดาล และผู้ก่อตั้งสถาบันส่งเสริมผู้คนใช้ชีวิตกันให้ช้าลง และเกียร์เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น สื่อยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ถึงความคิดของเขาที่บอกว่า ‘พวกเราไม่ควรจะเป็นหนูถีบจักร ’กันอย่างทุกวันนี้
เกียร์ บอกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ทำให้พวกเราได้มีสิ่งดีๆมากมาย และท่ามกลางสิ่งดีๆเหล่านั้น ได้ทำให้เราสร้างเมืองได้กว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น และมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคของจำนวนประชากรที่มากขึ้น
โลโก้สัญญลักษณ์ของสถาบัน ‘The World Institute of slowness
แต่หลังจากนั้น วัฒนธรรมของพวกเราได้มีการพัฒนามุ่งเน้นไปที่การอยู่บนพื้นฐานของผู้บริโภคและไม่ได้ปฏิบัติต่อคนอื่นในฐานะปัจเจกบุคคลอีกต่อไป และขณะเดียวกัน ผลลัพธ์ที่เกิดตามมา คือพวกเราได้รับ ‘มายด์-เซต’ในใจว่า พวกเรามีชีวิตอยู่ด้วยการคำนึงถึง‘ปริมาณ’ไม่ใช่ ‘คุณภาพ’ และแม้แต่ การมีชีวิตให้ช้าลง
การเปลี่ยนแปลงชุมชนเมือง ได้เปลี่ยนแปลงสังคมและรูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเราไปด้วย โดยผลจากการตั้ง มายด์-เซต ใหม่ ที่มีผลต่อวัฒนธรรมของเราทั่วทุกหนทุกแห่ง เป็นความท้าทายใหม่ ซึ่งพวกเราในฐานะมนุษย์ไม่เคยเตรียมตัวที่จะจัดการกับมันมาก่อนเลย จนทำให้พวกเราจำนวนมากมีความรู้สึกเหินห่างไปจากโลกอย่างที่มันควรจะเป็น
เกียร์ บอกว่า ทุกวันนี้ ผู้คนทั่วทุกมุมโลกยังคงหลั่งไหลไปอยู่ในเมืองต่างๆมากมาย ซึ่งมันไม่ใช่แค่เป็นเพียงการเคลื่อนตัวในเชิงภูมิศาสตร์ประชากรเท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนและครอบครัวที่กำลังแสวงหาชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม จนพวกเราจำนวนมากกลายเป็น มนุษย์ต่างดาวบนโลกใบนี้ และประชาชนหลายล้านคนกำลังเผชิญกับปัญหาความยากจน อยู่กันอย่างแออัด ปัญหามลพิษ ความรุนแรง การขาดการสนับสนุนทางสังคม และความโดดเดี่ยว
ความท้าทายของการมีชีวิตในเมืองและการเติบโตของชุมชนเมือง ไม่ใช่เป็นแค่เพียงเรื่องราว‘ประเด็นในเชิงกายภาพ’ แต่มันยังนำไปสู่ ‘ประเด็นละเอียดอ่อนอื่นๆ’และการเอาเวลาของเราไปทั้งหมด จนพวกเราได้หลงลืมว่ามันมีมิติเวลามากกว่าหนึ่ง ซึ่งพวกเราได้รู้มาจากการศึกษาปรัชญาของปราชญ์ชาวกรีกโบราณ ที่เคยพูดไว้ว่า เวลามีสองมิติ คือ ‘โครนอส’ และ‘ไครอส’
โครนอส คือเวลาในเชิงเส้นตรง ขณะที่ไครอส เป็นเวลาเมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น ซึ่งชาวกรีกเรียกว่า ‘เวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด’ และ นี่คือเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การทำให้เวลาช้าลง โดยเกียร์ได้ยกบทกวี ชื่อ‘The Paradox of Our Age’ ขององค์ดาไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณของชาวทิเบตว่า ‘พวกเรามีวิธีมากมายที่จะไปยังดวงจันทร์และกลับมาบนโลก, แต่กลับมีปัญหาที่จะข้ามถนนไปหาเพื่อนบ้าน พวกเราสร้างคอมพิวเตอร์มากขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลให้ได้มากขึ้น เพื่อผลิตงานซ้ำๆได้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่พวกเรากลับสื่อสารกันเองน้อยลง’
เกียร์บอกว่า องค์ดาไลลามะพูดถูก ! พื้นฐานของการเป็นผู้บริโภคจำเป็นดูเหมือนกับ ต้องการมากขึ้น เร็วขึ้น และผลลัพธ์ที่เกิดตามมา ในยุคสังคม โพสต์โมเดิร์นก็คือ การมักนำไปเปรียบกับการแข่งขันของหนู และโลกในยุคโพสต์โมเดิร์น ได้ทำให้พวกเรามีการศึกษามากขึ้นและความรู้มากขึ้น แต่นักจิตวิทยาทั้งหลายบอกเราว่า ความจำเป็นสำหรับพื้นฐานของคนเรานั้น มีแค่ทรัพย์สมบัติ การดูแลเอาใจใส่ และความรัก
และ เพื่อเติมต็มความจำเป็นเหล่านี้ พวกเราต้องยอมรับว่า ‘พวกเราไม่ใช่หนู และชีวิตไม่ใช่การแข่งขัน’ คุณค่าเหล่านี้สามารถไปถึงได้เพียงแค่ถ้าคุณมีความช้าลงในการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์
เกียร์ การให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็นว่า ประวัติศาสตร์ได้สอนพวกเราไว้ว่า การไม่มีการวางแผนสร้่างชุมชนเมืองเป็นสาเหตุให้เกิดผลลัพธ์เชิงลบต่อผุู้คนในเมือง และในการสร้างเมืองใหญ่ พวกเราจำเป็นต้องส่งเสริมการมีมนุษย์สัมพันธ์บนพื้นฐานคุณค่าของการเป็นมนุษย์
การบรรลุความสำเร็จเหล่านี้ บรรดานักวางแผนสร้างเมือง นักการเมือง สถาปนิก นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย จำเป็นต้องเดินบน ‘เลนช้า’ และมุ่งไปที่การแก้ปัญหาท้าทายหลายเรื่อง ทั้ง ความยากจน การอยู่กันอย่างแออัด มลพิษ ความรุนแรง และการขาดการสนับสนุนทางสังคม รวมทั้งการแก้ปัญหาต้องอยู่บนการดูแลเอาใจใส่และความรัก
‘คุณค่าเหล่านี้ สามารถมาถึงได้ผ่านการมีีมนุษย์สัมพันธ์กันอย่างช้าๆ การสร้างเมืองบนหลักการนี้จะส่งผลต่อพลเมืองของพวกเราในวิถีทางที่พวกเขาจะมีสุขภาพที่ดีขึ้น และมีโอกาสมากขึ้นในการมีชีวิตที่ดี ’
เกียร์ ทิ้งท้ายพร้อมกับขอยกคำคมของ ลิลี่ ทอมลิน ที่พูดให้ชวนคิดว่า‘ปัญหาของการแข่งขันของหนู ก็คือ ถึงแม้คุณชนะ คุณยังคงเป็นหนูอยู่ดี’
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด